คอนดักเตอร์


คอนดักเตอร์ นั้นสำคัญไฉน
ใครได้ดูวงออร์เคสตร้า ที่บรรเลงเพลงคลาสสิกจะมีคอนดักเตอร์ ยืนอยู่หน้าวง ยกไม้ยกมือด้วยท่าทางแปลก ๆ นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของการได้ดูวงออร์เคสตร้า ต่างคนต่างก็มีท่าทางเป็นของตนเอง เรามาทำความรู้จักคอนดักเตอร์กัน
 ากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
     วาทยกร (อังกฤษ: conductor) หรือผู้อำนวยเพลง คือคนที่ตีความหมายของบทเพลง โดยเห็นภาพรวมทั้งหมดของวงดนตรี มีหน้าที่ดึงความสัมพันธ์ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นออกมาเพื่อสอดผสานรวมเป็น หนึ่งเดียวกัน อาจกล่าวอีกนัยได้ว่า วาทยกร เป็นผู้ที่สื่อสารกับนักดนตรีด้วยภาษามือ เป็นเหมือนภาษาใบ้ที่ใช้กับดนตรี พร้อมกันนี้วาทยกรต้องมีความเป็นผู้นำที่สามารถให้ความเชื่อมั่นแก่นักดนตรี ด้วย เสมือนผู้กำกับ
 วาทยกรควบคุมวงดนตรีโดยการใช้รหัส หรือสัญญาณมือ มักถือไม้บาตอง (Baton) ที่มือขวาสำหรับให้จังหวะ ส่วนมือซ้ายจะควบคุมในด้านอื่น เช่น ให้นักดนตรีเล่นเสียงดังหรือค่อย หรือเป็นการแสดงออกด้านอารมณ์อื่น ๆ ที่วาทยกรต้องการสื่อสารกับนักดนตรีในวง วาทยกรจะพบในการแสดงดนตรีที่ใช้นักดนตรีจำนวนมาก เช่นในวง ออร์เคสตร้า วงประสานเสียง ส่วนการบรรเลงดนตรีในวงดุริยางค์ของกองทัพ อาจเรียกว่า หัวหน้าวงดุริยางค์
วาทยกรผู้เป็นสมาชิกของวงออร์เคสตร้าจะเป็นคนที่กำหนดทิศทางของวง ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ผู้กำกับดนตรี หรือเรียกว่า คาเปลไมสเตอร์ (Kapellmeister) ในภาษาเยอรมันซึ่งหมายความถึง หัวหน้าวาทยากรในวงออร์เคสตร้าเยอรมัน สำหรับวาทยกรของวงประสานเสียง จะเรียก ผู้ควบคุมวงประสานเสียง ส่วนวาทยากรอาวุโสจะเรียกว่า มาเอสโตร (maestro - นาย) ในภาษาอิตาเลียน

     วาทยกรที่ดีเป็นแบบใดนั้น เป็นเรื่องที่ให้คำจำกัดความได้ยาก เพราะวาทยกรบางคนให้จังหวะแก่นักดนตรีได้อย่างแม่นยำ แต่วาทยกรบางคนก็ดูประหนึ่งว่าไม่ค่อยให้จังหวะแก่นักดนตรี หรือที่นักดนตรีเรียกว่า "ให้คิว" แต่กลับสื่อสารกับนักดนตรีได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น คุณค่าของวาทยกรจึงไม่ได้อยู่ที่ลีลาการกำกับวงเมื่อออกแสดง แต่อยู่ที่การฝึกซ้อมและการสื่อสารกับนักดนตรีให้เข้าใจ วาทยกรใหญ่หลายต่อหลายคนออกท่าทางน้อยมาก เช่น อิกอร์ มาร์เควิช (Igor Markevitch) หรือบางคนอาจดูเหมือนให้จังหวะที่สับสน เช่น วิลเฮ็ล์ม ฟวร์ตแวงเลอร์ (Wilhelm Furtwangler) แต่บทเพลงภายใต้การกำกับวงของเขาเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เต็มเปี่ยมไปด้วยความล้ำลึก คุณค่าของวาทยกรจึงมิได้วัดด้วยสายตา แต่ต้องวัดจากการฟังของผู้ฟัง
     ใครดูวงดนตรีออร์เคสตร้าจะเห็นคอนดักเตอร์ยกมือยกไม้ขึ้น ๆ ลง ๆ ซึ่งท่าทางนั้นเป็นสัญญาณที่สื่อกับนักดนตรีเพื่อให้เล่นไปตามที่คอนดักเตอร์กำหนด
สัญญาณมือของ คอนดักเตอร์ เป็นการสื่อสารระหว่างคอนดักเตอร์กับนักดนตรี ประกอบด้วย เรื่องใหญ่ๆ คือ
1 Tempo & Time Signature ก็คือเพลงที่เล่นเป็นจังหวะอะไร ความเร็วแค่ไหน รวมถึงการเล่นเร็วขึ้น และช้าลงด้วย
2 Dynamic ความดังค่อย ช่วงไหนเล่นดัง หรือ เบา ดังขึ้น เบาลง
3 Articulation เป็นการกำหนดให้นักดนตรีเล่นตามเครื่องหมายต่างๆ เช่น Staccato, Macato
ส่วน เรื่องอื่นๆ ก็มีการให้คิวเข้า และการหยุดเสียง การเคาะตามส่วนโน้ต ซึ่งคอนดักเตอร์ที่ดีจะต้องศึกษา บทเพลงที่ได้มา ตีความ วิเคราะห์เพลง จากนั้นจึงจะลงรายละเอียดในบาตองเทคนิคครับ
นอกจากนี้ มีเรื่องราวอีกมากมายครับ ที่คอนดักเตอร์จะต้องเรียนรู้ เช่นเรื่อง Harmony, Orchestration, Ear Training, Ensemble ความเข้าในเครื่องดนตรีแต่ละชนิด วิธีการผลิตเสียง ฯลฯ
เนื้อความบางส่วนจาก Supercadenza  
     Herbert von Karajan (พ.ศ. 2451-2532) เป็นคอนดักเตอร์ระดับโลกชื่อดังที่ประจำวง Berlin Philharmonic อยู่นานถึง 35 ปี
     คอนดักเตอร์ชาวไทยที่คนไทยรู้จักกันดีคือ บัณฑิต อึ้งรังษีซึ่งบัณฑิตนั้นเป็นคอนดักเตอร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกและได้ตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งขันคอนดักเตอร์ระดับโลก ที่ Carnegie Hall Concert  Winner of Maazel-Vilar Conducting Competition (The Greatest Conducting Competition in the World )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น