วงโยธวาทิต


โยธวาทิต (อังกฤษmilitary band) หมายถึง กลุ่มผู้เล่นเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบ โยธวาทิตแต่เดิมนั้นตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ทางทหารที่เรียกว่า "วงดุริยางค์ทหาร" ปัจจุบัน โยธวาทิตได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสามารถบรรเลงในงานต่างๆ ได้นอกเหนือจากการบรรเลงในกองในคำว่า "โยธวาทิต" ในภาษาไทยนั้นบัญญัติขึ้นโดยมนตรี ตราโมท

กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีแตรวง เป็นวงดนตรีขนาดย่อม ประกอบด้วยเครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบ ในยุโรปสมัยกลางฝ่ายทหารใช้ปี่ชอร์ม (Shawms) และทรัมเป็ต ร่วมกับกลองในการเดินทัพออกสมรภูมิ ต่อมาก็เกิดการแบ่งออกเป็นสองพวก ทหารราบใช้ปิคโคโลกับกลอง ส่วนทหารม้านั้นใช้ทรัมเป็ตกับกลองหนัง
จนเกิดสงคราม 30 ปี ในยุโรป (ค.ศ. 1618-1648) เจ้านายเยอรมันแห่งแบรนแดนเบิร์กให้จัดตั้งโยธวาทิตทหารขึ้น มีปี่ชอร์ม 3 คัน แตร ทรัมเป็ต แตรฝรั่งเศส และเครื่องกระทบ กลายเป็นโยธวาทิตที่ใช้ได้ทั้งการเดินทัพและนั่งบรรเลงกับที่ ต่อมาทั้งฝรั่งเศส และอังกฤษมีการใช้และดัดแปลงให้โยธวาทิตมีความครึกครื้นมากขึ้น โดยมีการแต่งเพลงขึ้นเฉพาะสำหรับการบรรเลงด้วยโยธวาทิต
หลังศตวรรษที่ 18 มีเครื่องดนตรีเกิดใหม่ โดยเฉพาะเครื่องเป่า เช่น โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน เข้ามามีบทบาทมากขึ้นและเพลงที่โยธวาทิตใช้บรรเลงเริ่มมีการนำเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาดัดแปลงให้โยธวาทิตนำมาบรรเลง และการนั่งบรรเลงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

โยธวาทิต แบ่งตามลักษณะการบรรเลง ได้ดังนี้
  1. วงเดินแถว (marching band) เป็นโยธวาทิตที่มีลักษณะการเดินบรรเลง เป็นแถวตอนลึก อาจบรรเลงเฉพาะวงหรือนำหน้าขบวนต่างๆ ที่ต้องการรูปแบบที่เป็นระเบียบ เข้มแข็ง เร้าใจ ส่วนมากจะนิยมบรรเลงเพลงมาร์ช
  2. วงนั่งบรรเลง (concert band) หมายถึง การนำโยธวาทิตมานั่งบรรเลงเป็นลักษณะของคอนเสิร์ต โดยนำบทเพลงที่เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับโยธวาทิตมาบรรเลง ลักษณะคล้ายวงออร์เคสตรา หรืออาจนำเอาบทเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับโยธวาทิต จึงทำมีอีกชื่อเรียกว่า วงซิมโฟนิค แบนด์ (Symphonic Band)
  3. วงแปรขบวน (display) หมายถึง การนำโยธวาทิตมาบรรเลงประกอบการแปรแถว โดยผู้บรรเลงต้องเดินแปรรูปขบวนเป็นรูปต่างๆ ซึ่งเพลงที่ใช้บรรเลงต้องเหมาะสมกับรูปแบบที่แปรขบวนด้วย วงแบบนี้อาจมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า โชว์แบนด์ (show Band)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น